Dead Stock หรือสินค้าค้างสต๊อก เป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะนอกจากจะสร้างภาระด้านต้นทุนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและการเติบโตของธุรกิจ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในระยะยาว และเพิ่มโอกาสการทำธุรกิจให้มีความยั่งยืน การย้อนกลับมาทำความเข้าใจว่า Dead Stock คืออะไร ตลอดจนศึกษาวิธีจัดการสินค้าค้างสต๊อกให้มีประสิทธิภาพ จึงเป็นรายละเอียดสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกรายไม่ควรมองข้าม
ทำความรู้จัก Dead Stock
ความหมายและลักษณะของ Dead Stock
Dead stock คือสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในระบบสต๊อก หรือไม่ได้รับการจัดจำหน่ายตลอดระยะเวลา 6-12 เดือนภายหลังจากนำมาเก็บไว้ในสต๊อก โดยส่วนใหญ่แล้ว Dead stock มักเป็นสินค้าที่มีลักษณะตามตัวอย่างต่อไปนี้
- สินค้าเสื่อมสภาพเนื่องจากหมดอายุ
- สินค้าที่ได้รับความเสียหายจากการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม
- สินค้าตกรุ่นที่ไม่ได้รับความนิยม
- สินค้าที่สั่งซื้อหรือผลิตเกินความต้องการในตลาด
- สินค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
สาเหตุการเกิด Dead Stock
Dead stock เกิดขึ้นจาก 4 สาเหตุหลัก ประกอบไปด้วย
- การวางแผนด้านการตลาดที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
- การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
- การสั่งซื้อหรือผลิตสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
- การสั่งซื้อหรือผลิตสินค้าเกินความต้องการของตลาด
Dead Stock กับผลกระทบต่อธุรกิจ
ด้านการเงินและสภาพคล่อง
ผลกระทบข้อแรกของ Dead Stock คือเงินตราถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นสินค้าค้างสต๊อก ที่ไม่สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างกำไรเพราะข้อจำกัดของตัวสินค้า ซึ่งหากสินค้าค้างสต๊อกมีจำนวนมาก แน่นอนว่าผลที่ตามมาย่อมกระทบต่อสภาพคล่องในระยะยาว
ด้านต้นทุนการจัดเก็บ
ยิ่งสินค้าอยู่ในสต๊อกนานเท่าไร นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับทั้งค่าเช่าพื้นที่ และค่าดูแลรักษาสินค้าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน
สินค้า Dead stock คือความท้าทายที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อด้านการเงินและต้นทุนการจัดเก็บเท่านั้น เพราะหากพิจารณาในอีกแง่มุม การมีสินค้าค้างสต๊อกอยู่ในพื้นที่จัดเก็บเป็นจำนวนมาก ยังทำให้การจัดสรรพื้นที่ทำได้ยาก อีกทั้งยังเพิ่มความซับซ้อนในการบริหารจัดการ ตลอดจนลดความรวดเร็วในการหมุนเวียนสินค้า
วิธีป้องกัน Dead Stock สำหรับธุรกิจ
1. การวางแผนการสั่งซื้อสินค้า
การวางแผนการสั่งซื้อสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหา Dead stock ซึ่งมักเกิดจากการวางแผนการตลาดที่คลาดเคลื่อน โดยผู้ประกอบการควรดำเนินการดังนี้
- วิเคราะห์ข้อมูลยอดขายย้อนหลัง – พิจารณาปัจจัยรอบด้านทั้งเรื่องกำไร-ขาดทุน ความพึงพอใจของลูกค้า ช่วงเวลาที่ลูกค้ามักซื้อสินค้า ความถี่ในการซื้อซ้ำ และสินค้าที่มักซื้อเป็นคู่
- พยากรณ์ความต้องการสินค้า – ตรวจสอบสถิติการขายย้อนหลังร่วมกับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อยอดสั่งซื้อ เช่น เทรนด์ตลาดและสภาพเศรษฐกิจ
- กำหนดจุดสั่งซื้อที่เหมาะสม – นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดยอดการสั่งซื้อแต่ละครั้งให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงของสินค้าขาดหรือเกินสต๊อก
ด้วยการวางแผนที่อาศัยข้อมูลทั้งภายใน เช่น ยอดขายของสินค้าแต่ละประเภท และข้อมูลภายนอก เช่น แนวโน้มความต้องการของตลาด จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา

2. การใช้ระบบจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลด Dead Stock
ระบบจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพ เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขและป้องกันปัญหา Dead Stock โดยผู้ประกอบการสามารถใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- การติดตามอายุสินค้าแบบเรียลไทม์ – การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับระบบจัดการสต๊อกช่วยลดข้อผิดพลาดและร่นระยะเวลาการปฏิบัติงาน ทำให้ติดตามสถานะสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การตั้งระบบแจ้งเตือนสินค้าใกล้หมดอายุ – เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถแจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมดอายุ ช่วยให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการวางแผนบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม
- การบริหารสต๊อกแบบ FIFO (First-In, First-Out) – สินค้าที่เข้ามาในคลังก่อน จะถูกนำไปจำหน่ายก่อน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
- การบริหารสต๊อกแบบ FEFO (First-Expired, First-Out) – คล้ายกับ FIFO แต่เน้นจำหน่ายสินค้าที่ใกล้วันหมดอายุที่สุดออกไปก่อน เหมาะกับสินค้าที่มีวันหมดอายุ ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดกรณีสินค้าหมดอายุก่อนถูกจำหน่าย
การผสมผสานระบบและเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิด Dead Stock และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ
3. การวางกลยุทธ์การขายและการตลาด
การจัดการกับความท้าทายของสินค้า Dead Stock ให้มีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการสามารถใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกหลายวิธี ดังนี้
- การวางแผนโปรโมชันล่วงหน้า – เตรียมกลยุทธ์กระตุ้นยอดขายในระยะสั้น ด้วยการจัดโปรโมชันลดราคา หรือมอบของสมนาคุณ เมื่อยอดสั่งซื้อเกินขั้นต่ำ ช่วยให้มีลู่ทางระบายสินค้าเมื่อยอดขายชะลอตัว
- การกระจายสินค้าผ่านหลายช่องทาง – ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลายในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายและเข้าถึงลูกค้าที่แตกต่างกัน
- การปรับกลยุทธ์ราคาตามอายุสินค้า – กำหนดราคาที่มีความยืดหยุ่นตามอายุของสินค้า เพื่อให้สามารถระบายสินค้าออกไปได้ทันเวลาและเหมาะสมกับสถานการณ์
การนำกลยุทธ์เหล่านี้มาปรับใช้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงและแก้ไขปัญหา Dead Stock ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีจัดการกับ Dead Stock ที่มีอยู่
การระบายสินค้า
การมองหาช่องทางระบายสินค้า เป็นขั้นตอนสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ โดยอาจทำได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- การจัดโปรโมชันพิเศษ : เนื่องจาก Dead stock คือสินค้าคงค้างที่ผู้ประกอบการไม่สามารถจัดจำหน่ายได้ ดังนั้น การมองหาช่องทางระบายสินค้าอย่างการจัดโปรโมชันล่วงหน้า เพื่อให้เกิดยอดสั่งจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม เมื่อถึงเวลาวางกลยุทธ์การขายและการตลาด
- การขายเป็นชุดร่วมกับสินค้าขายดี : ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีสินค้าที่ต้องการระบาย การจัดแคมเปญขายสินค้าเป็นชุดร่วมกับสินค้าขายดี เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยระบายสินค้าเป็นจำนวนมากในการสั่งซื้อหนึ่งครั้ง
- การหาช่องทางจำหน่ายใหม่ : อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เกิดการระบายสินค้า ได้แก่ การมองหาช่องทางจำหน่ายที่หลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้กว้างยิ่งขึ้น
การลดความสูญเสีย
หากไม่สามารถระบายสินค้าด้วยการจัดโปรโมชัน หรือการขายช่องทางใหม่ ๆ ได้ อาจเลือกใช้วิธีเหล่านี้เพื่อไม่ให้สินค้าเหล่านั้นเสียเปล่า
- การบริจาคสินค้าใกล้หมดอายุ : เพราะ Dead Stock คือสินค้าที่ไม่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อทำกำไรได้ ดังนั้น หากเป็นสินค้าที่ใกล้หมดอายุ ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการจัดเก็บด้วยการบริจาคให้ผู้มีความจำเป็นในการใช้สินค้า สามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนถึงวันหมดอายุได้
- การรีไซเคิลหรือทำลายอย่างเหมาะสม : เมื่อสินค้าหมดอายุก่อนถึงวันจัดจำหน่าย การจำแนกประเภทของสินค้าก่อนนำไปทำลายหรือรีไซเคิล เป็นช่องทางที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีพื้นที่ในสต๊อกเพิ่ม และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าให้น้อยลง
- การเจรจาส่งคืนซัพพลายเออร์ : หากสินค้าค้างสต๊อกเป็นสินค้าที่ไม่มีวันหมดอายุ ผู้ประกอบการสามารถลองเจรจาส่งสินค้าคืนซัพพลายเออร์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บที่ไม่จำเป็นได้
การจัดการ Dead Stock ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณมีระบบจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพ Scale Up เข้าใจความท้าทายนี้เป็นอย่างดี เราจึงพัฒนาระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยให้คุณควบคุมสต๊อกได้อย่างแม่นยำ เช็กสต๊อกแบบเรียลไทม์ได้เสมอ รวมถึงมีบริการจัดเก็บสินค้า ให้คุณมั่นใจได้ว่าจะไม่เสียโอกาสทางธุรกิจจากการบริหารสต๊อกที่ผิดพลาดอีกต่อไป
ติดต่อ Scale Up วันนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง LINE ID : https://lin.ee/HPXeKAo หรือโทร. 098 991 9356
ข้อมูลอ้างอิง:
- Dead Stock: Causes and How to Get Rid of it. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 จาก https://www.brightpearl.com/inventory-management-system/dead-stock

Scale Up ผู้นำด้านบริการ Fulfilment ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่ดูแลครอบคลุมทุกความต้องการด้านคลังสินค้าสำหรับธุรกิจ E-commerce ทั้งระบบ OMS (Order Management System) ระบบ WMS (Warehouse Management System) และอีกมากมาย ด้วยบริการครบวงจรที่ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจและจัดการออร์เดอร์ เพื่อเสริมยอดขาย พร้อมดูแลร้านค้าออนไลน์ให้ธุรกิจเติบโต